การศึกษาขั้นพื้นฐาน

                             การศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

านการศึกษาขั้นพื้นฐาน    มุ่งจัดการศึกษาให้กับประชาชนและผู้ด้อยโอกาสที่อยู่นอกระบบโรงเรียนให้ได้รับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการจัดการศึกษาสายสามัญในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อยกระดับการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมาย

ลักษณะกิจกรรม         จัด ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับกลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียนโดยปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนและการเรียนรู้ การทำงานของครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษา พัฒนาหลักสูตร สื่อการศึกษาและสถานศึกษา ตลอดจนเร่งพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ เพื่อกลุ่มเป้าหมายได้รับการศึกษาที่เป็นพื้นฐานเพียงพอที่จะดำเนินชีวิตตามหลักสูตรกำหนดไม่น้อยกว่า 12 ปี ซึ่งแบ่งตามโครงสร้างหลักสูตร

      โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 5 สาระการเรียนรู้ ได้แก่

1.ทักษะการเรียนรู้
2.ความรู้พื้นฐาน
3.การประกอบอาชีพ
4.ทักษะการดำเนินชีวิต
5.การพัฒนาสังคม

     แต่ละสาระประกอบด้วยรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก ตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในโครงสร้างรายวิชาที่เลือกนั้นผู้เรียนสามารถเลือกได้ตามความต้องการของตนเองและในการเรียนแต่ละระดับผู้เรียนต้องทำ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต(กพช.) ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง

ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า  48  หน่วยกิต
     แบ่งเป็นวิชาบังคับ  36  หน่วยกิต  และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า  12  หน่วยกิตให้ลงทะเยนเรียนได้ภาคละไม่เกิน  14  หน่วยกิต 
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไม่น้อยกว่า 56  หน่วยกิต
    แบ่งเป็นวิชาบังครับ  40 หน่วยกิต  และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า  16  หน่วยกิตให้ลงทะเยนเรียนได้ภาคละไม่เกิน 16 หน่วยกิต
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่น้อยกว่า  76  หน่วยกิต
     แบ่งเป็นวิชาบังคับ  44 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า  32 หน่วยกิตให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 20  หน่วยกิต

วิธีการจัดการเรียนรู้
     วิธีการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีวิธีเดียว คือ วิธีเรียน กศน. ที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบทางไกล การเรียนรู้แบบชั้นเรียน และการเรียนรู้แบบอื่นๆซึ่งในแต่ละรายวิชา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานศึกษาด้วย


@  จำนวนผู้เรียน 2/2558

   Ø ระดับประถมศึกษา                    2 คน
   Ø ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น          58 คน
   Ø ระดับมัธยมศุึกษาตอนปลาย      60 คน




                   



                   



  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น